Smile Cycling

ฝันเล็กๆ ในการเดินทางท่องเที่ยวด้วยจักรยาน

ลั่นกล้อง : เริ่มต้นที่กล้อง Part-I

ไม่มีความคิดเห็น
     หลายปีก่อนโน้นนนนนนน (นานมาก) ... เคยใช้กล้องฟีล์มถ่ายภาพ รู้สึกว่าถ่ายง่าย สนุก มีข้อเสียอย่างเดียวคือ "จ่ายเงินเยอะ" จะถ่ายต้องจ่ายเงินซื้อฟีล์ม ถ่ายแล้วก็ต้องล้าง+อัดภาพ จึงจะเห็นผลงาน ฟีล์ม 1 ม้วน 36 รูป ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ 200-250 บาท ... ปัจจุบันจ่ายครั้งแรกครั้งเดียว (ไม่นับพวกเลนส์งอก) ถ่ายภาพเสร็จดูได้จากจอหลังกล้อง เอามาดูในคอม หรือต่อดูกับทีวี แสนสะดวกสะบายและประหยัดด้วย
รูปที่ 1 ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ท

    แต่ที่บอกว่าถ่ายด้วยกล้องฟีล์มสนุกก็เพราะว่า"ตัวแปร"น้อย ไม่สับสนวุ่นวายในการปรังตั้ง เช่น

  • 1. ฟิล์มก็มีความไวแสง (ISO) ระบุแน่นอน 100, 200, 400 ... ดังนั้นตลอด 36 รูปจากนี้ไม่ต้องยุ่งกับค่าความไวแสง เพราะไปเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้
  • 2. รูรับแสง(ปรับตั้งที่เลนส์) และ ความเร็วชัตเตอร์(ปรับตั้งที่กล้อง) แบ่งเป็นช่วงค่าแสง stop ชัดเจน เช่น 1.4, 2, 2.8, 4, 5.6, 8, 11, 16, 22 และความเร็ว B, 1/50, 1/125, 1/250, 1/500, 1/1000 ...
  • 3. สมุติใช้ฟีล์ม ASA-100 ตั้ง speed shutter ที่ 1/125 และเปิดรูรับแสงที่ f/5.6 - f/8 ถ่ายกลางวันเพียงแค่ปรับรูปรับแสงให้สเกลวัดอยู่ตรงขีดกลาง (รุ่นแรกๆ เป็นแบบเข็ม) ที่เหลืออย่างเดียวที่ต้องปรับคือโฟกัส ซึ่งง่ายยิ่งกว่าง่าย แค่จัดองค์ประกอบ-โฟกัส-กดชัตเตอร์ ... เพราะค่า ISO, F-Stop, White Balance ถูกกำหนดเป็นค่าตายตัวไปแล้ว ไปจนกว่าเปลี่ยนสถานที่หรือเปลี่ยนฟีล์มม้วนใหม่
    ปัจจุบัน ไม่ง่ายอย่างนั้น มีค่าที่ต้องปรับตั้งเยอะแยะมากมาย ผู้เขียนจะไม่เถียงว่าเขามีโหมด Auto ที่ทำให้ทุกอย่าง แค่เล็งไปที่แบบแล้วกด shutter ถ่าย ง่ายกว่าแต่ก่อนเยอะ ... เพราะผู้เขียนลองมาแล้วกับตัวเอง ผลออกมา"สุนัขไม่รับประทาน" หรือใครอยากลองก็ไม่ห้าม อย่าคิดว่า"ฉันเคยเทพในยุคฟิล์ม" มายุคดิจิตอลนี้เด็กๆ 555

    ที่ร่ายเรียงมาซะยาว เพื่อจะบอกว่าการใช้ถ่ายภาพในปัจจุบัน ให้ออกมาสวยสมใจเราต้องศึกษาและทำความเข้าใจ, คุ้นเคย กับกล้องของเราอย่างละเอียดและเข้าใจ บอกได้เลยว่าไม่สามารถใช้ความรู้ในยุคสมัยกล้องฟีล์มได้เลย ที่ใช้ได้แค่หลักการเท่านั้น

รูปที่ 2 ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ท
    ผู้เขียนเองใช้กล้อง Nikon D7000 มาเข้าปีที่ 4 แล้วยังไม่เคยทำความเข้าใจและปรับตั้งค่าต่างๆ ได้หมด เพราะคิดอยู่ว่าเคยใช้กล้องฟีล์มมาก่อน มันคงไม่แตกต่างกันมาก จึงละเลยเรื่องเหล่านี้ไป ทั้งหมดนี้เป็นที่มาของการถ่ายภาพ"ไม่ได้ดังใจ" ที่เคยอารมณ์เสียกับตัวเองบ่อยครั้ง ... เนื้อหาจากนี้ไปจะเกี่ยวข้องกับกล้อง Nikon D7000 และรูปภาพจะอ้างอิงจากคู่มือที่มากับกล้องนะครับ

     เมื่อจะศึกษาและถ่ายภาพให้สนุก ต้องเกิดจากความเข้าใจในทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวข้อง แม้ไม่อาจจะทำความเข้าใจได้หมดในคราเดียวกัน ก็ต้องค่อยๆ ประติดประต่อเรื่องราว หาความรู้ทางทฤษฎี แล้วลงมือปฎิบัติ ได้ผลตรง/ไม่ตรง ก็ปรับแก้กันไป เช่น มีคำพูดที่ว่า "การถ่ายภาพ คือ การวาดรูปด้วยแสง" หากใครที่เข้าใจก็นำหลักไปใช้ ผู้เขียนเองไม่เข้าใจในตอนต้น จึงละเลยไป สุดท้ายก็ต้องกลับมาทำความเข้าใจกันใหม่

รูปที่ 2 ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ท


    หลักการ หรือที่เขาเรียกหรูๆ ว่า Workflow มันก็มีอยู่ว่า มีแหล่งกำเหนิดแสง - แสงส่องมาที่วัตถุ - วัตถุสะท้อนแสงบางส่วนออกมา - ผ่านเลนส์รวมแสง - ม่านบังแสง (shutter) - ผ่านไปยังเซ็นเซ่อร์รับภาพ - แปลงเป็นข้อมูลภาพบันทึกลงการ์ดความจำ - สุดท้ายจะส่งไปร้านพิมพ์ภาพลงกระดาษ หรือ จะดูบนจอคอม ... ถือเป็นสิ้นสุด"การวาดรูปด้วยแสง"
  • - แหล่งกำเหนิดแสง หลักๆ ก็มาจากแสงธรรมชาติ/แสงประดิษฐ์ ... อาจศึกษาที่มาของแสง, คลื่นแสง, และอุณหภมิของสี
  • - วัตถุได้รับแสงและสะท้อนแสง ... อันนี้ต้องศึกษา"ทฤษฎีสี"เบื้องต้น ว่าวัตถเมื่อได้รับแสงส่องมากระทบจะมีการดูกลืนและสะท้อนแสง เช่น วัตถุสีดำ ดูดกลืนทั้งหมด / วัตถุสีขาว สะท้อนทั้งหมด อย่างนี้เป็นต้น
  • - เลนส์ รวมแสง และปล่อยแสงผ่าน ... ศึกษาถึงคุณสมบัติเลนส์ตัวที่เราใช้ และเรื่องที่เลนส์ทุกตัวต้องมีคือ"ขนาดรูปรับแสง(Aperture)"
  • - ม่านบังแสง (Shutter) ... ตัวที่จะปล่อยแสงไปตกกระทบเซ็นเซอร์ฯ จะพูดถึงเรื่อง"ความเร็ว"ในการเปิด/ปิด ให้แสงผ่าน (Shutter Speed)
  • เซ็นเซอร์รับแสงแล้วแปลงเป็นสัญญาณภาพ จะพูดถึงเรื่อง"ความไวแสง (ISO)" 
     ... สรุปขั้นต้น การถ่ายภาพเกี่ยวข้องหัวข้อใหญ่ๆ 4 เรื่อง คือ "ขนาดรูปรับแสง(Aperture)", "ความเร็วชัตเตอร์" (Shutter Speed), "ความไวแสง (ISO)" และ ความสมดุลย์ของสี (White Balance)
รูปที่ 3 ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ท

     จะเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่าง Shutter, Aperture และ ISO แค่ 3 ปัจจัยก็ทำให้ได้ภาพแล้ว ส่วนความสมดุลย์ของสี (White Balance) จะเป็นปัจจัยที่จะทำให้ภาพนั้นมีแสง/สีสมจริงและถูกต้อง(รวมถึงถูกใจ) ... ไว้ตอนต่อๆ ไปจะกล่าวถึงการ"ตั้งค่า"ต่างๆ ของกล้อง D7000 (กล้องรุ่นอื่นๆ ก็ทำตามคู่มือที่ให้มานะครับ) .../สวัสดี

ไม่มีความคิดเห็น :

ลั่นกล้อง : แสง+สี=การถ่ายภาพ

ไม่มีความคิดเห็น
... ก่อนอื่นขอออกตัวก่อนว่าข้อมูลต่อจากนี้เป็นการคัดย่อจากการอ่านไฟล์ PDF หรือ จากเว็บไซต์ต่างๆ เช่นเอกสารฉบับที่ชื่อ [ไทย] ทฤษฎีสี , หรือ ทฤษฎีสี ... ใครสนใจโหลดไปอ่านได้นะครับ และขอขอบคุณผู้ที่เสียสละเวลาเขียนบทความสาระความรู้ไว้ ณ ที่นี้อย่างสูงครับ


ความหมายของทฤษฎีสี 
- ทฤษฎี หมายถึง ความจริงที่ได้พิสูจน์แล้ว หรือ หลักวิชา
- สี หมายถึง แสงที่มากระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาเรา ทำให้เห็นเป็นสีต่างๆ
     ดังนั้น ทฤษฎีสี หมายถึง หลักวิชาเกี่ยวกับสีที่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา

ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสี 
     สรรพสิ่งทั้งหมายในจักรวาลประกอบไปด้วยสี ดังนั้นสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์จึงประกอบไปด้วยสี สีจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
     1. สีที่เกิดจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เช่น สีของแสง สีผิวของวัตถุตามธรรมชาติ
     2. สีที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ เช่น สีของแสงไฟฟ้า สีของพลุ สีที่ใช้เขียนภาพ และย้อมสีวัสดุต่างๆ

จิตวิทยาแห่งสี (psychology of colors)
     การใช้สีให้สอดคล้องับหลักจิตวิทยา จะต้องเข้าใจว่าสีใดให้ความรู้สึกต่อมนุษย์อย่างไร จึงจะใช้ได้อย่างเหมาะสม ความรู้สึกเกี่ยวกับสี สามารถจำแนกออกได้ดังนี้

  • สีแดง ให้ความรู้สึกอันตราย เร่าร้อน รุนแรง มั่นคง อุดมสมบูรณ์ 
  • สีส้ม ให้ความรู้สึกสว่าง เร่าร้อน ฉูดฉาด 
  • สีเหลือง ให้ความรู้สึกสว่าง สดใส สดชื่น ระวัง 
  • สีเขียว ให้ความรู้สึกงอกงาม พักผ่อน สดชื่น 
  • สีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย สง่างาม ทึม 
  • สีม่วง ให้ความรู้สึกหนัก สงบ มีเลศนัย 
  • สีน้ำตาล ให้ความรู้สึกเก่า หนัก สงบเงียบ 
  • สีขาว ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด ใหม่ สดใส 
  • สีดำ ให้ความรู้สึกหนัก หดหู่ เศร้าใจ ทึบตัน

แม่สี 
      แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม สีที่ใช้จะมาจากการผสมของแม่สี แม่สีมีหลายประเภท ดังนั้นจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับแม่สีให้ดีเสียก่อน จึงจะสามารถนำสีไปใช้ได้อย่างถูกต้อง แม่สีที่ใช้มีดังต่อไปนี้
  • 1. ทฤษฏีสีตามหลักวิชาฟิสิกส์ หรือ แม่สีของแสง (Spectrum primaries)
  • 2. ทฤษฏีสีตามหลักวิชาเคมี หรือ แม่สีวัตถุธาตุ (Pigmentary primaries)
  • 3. ทฤษฏีสีตามหลักวิชาจิตวิทยา หรือแม่สีของนักออกแบบ
  • 4. ทฤษฏีสีของมันเซลล์
     ถ้าอธิบายตามต้นฉบับจริงคงยาวจนเบื่อที่จะอ่าน ดังนั้นขอสรุปย่อเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพ / พิมพ์ภาพ เฉพาะลำดับที่ 1 และ 2 เท่านั้น สำหรับใครที่ต้องการรายละเอียดคงต้องหาอ่านจากตำราทางวิชาการจริงๆ แล้วละครับ

1. แม่สีทางแสง หรือ แม่สีของนักฟิสิกส์ (spectrum primaries)
     ต่อไปผมจะเรียกว่า"ระบบสี RGB" มีแม่สี แดง(R) - เขียว(G) - น้ำเงิน(B) เมื่อนำแม่สีทั้ง 3 มาผสมกันทีละคู่ จะได้ เหลือง(Y) - คราม(C) - ม่วง(M)  ตามลำดับ และถ้ารวมกันทั้งหมดจะเป็น สีขาว (Luminance)

2. แม่สีวัตถุธาตุ หรือ แม่สีของนักเคมี (pigmentary primaries)
      มีแม่สี แดง(R) - เหลือง(Y) - น้ำเงิน(B) เมื่อนำแม่สีทั้ง 3 มาผสมกันทีละคู่ จะได้ ส้ม(A) - เขียว(G) - ม่วง(M)  ตามลำดับ และถ้ารวมกันทั้งหมดจะเป็นสี ดำ(K)
     ผมเองสับสนกับสี 2 ระบบนี้มานานเหมือนกัน สมัยเรียนประถมรู้ว่าแม่สีมี 3 สี คือ แดง-เหลือ-น้ำเงิน ... ต่อมาเรียนระดับ ปวช.อิเลคทรอนิกส์ ก็มารู้ว่ามีแม่สี RGB คือ แดง-เขียว-น้ำเงิน เป็นโครงสร้างหลักของหลอดภาพทีวีสี โดยมีอัตรส่วนผสม 11%-59%-30% ดังนั้นเวลาซ่อมทีวีสีภาพหลอดภาพจะต้องปรับจอให้ได้สีขาว
     ... มาถึงปัจจุบันศึกษาการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล (เคยใช้มาตั้งแต่สมัยกล้องฟีล์ม) ก็มาพบกับระบบ RGB นี้อีกครั้ง แต่คราวนี้เขาไม่พูดถึง (%) การผสมสี 11-59-30 ก็ยังคง RGB และที่เพิ่มมาคือ CMYK อันนี้แค่สั้นๆ ที่คุ้นเคย ยังมีที่ลึกซึ้งซับซ้อนที่ยังไม่กล่าวถึง (และอย่าไปกล่าวถึงมันเลย)

     เรากลับมาเรื่องของเรา" แสง+สี=การถ่ายภาพ" กันดีกว่าว่ามันเกี่ยวข้องกับระบบสีใดบ้าง อย่างไร ... ด้วยหลักการของการถ่ายภาพคือการบันทึกแสงที่สะท้อนมาจากวัตถุ ลงบนแผ่นฟีล์มหรือแผงรับแสง ( CCD ) ผลลัพท์จะออกมาทางแผ่นกระดาษ หรือ ไฟล์คอมพิวเตอร์

     สมมุติว่าเราถ่ายรูปธงชาติไทย ที่อยู่กล้างแจ้ง นั่นหมายถึงว่าแหล่งกำเหนิดแสงมาจากดวงอาทิตย์ แล้วสะท้องกับผืนผ้าไตรรงค์


  • - แถบสีแดง จะดูดกลืนสีอื่นไว้หมด สะท้อนเฉพาะสีแดงออกมา
  • - แถบสีขาว จะดูดกลืนสีอื่นไว้หมด สะท้อนเฉพาะสีขาวออกมา
  • - แถบสีน้ำเงิน จะดูดกลืนสีอื่นไว้หมด สะท้อนเฉพาะสีน้ำเงินออกมา
     สีของธงไตรรงค์ เป็นไปตามแม่สีของวัตถุธาตุ ที่มีแม่สี แดง-เหลือ-น้ำเงิน ... หลังจากแสงสีแดง, ขาว และน้ำเงิน ผ่านเลนส์กล้องถ่ายรูปถึงแผ่นวงจรรับแสง (CCD) แล้วแสดงผลทางหลังกล้องดิจิตอล ตอนนี้ระบบสีเปลี่ยนไปใช้ระบบ RGB แล้วละครับ ... งงไหมครับเนี่ย

     ดังนั้นการจะถ่ายภาพมา 1 ภาพ ต้องเกี่ยวข้องกับระบบสีทั้ง 2 ระบบ (เคมี - พิสิกส์) ซึ่งภาพที่ได้จะสวยสมจริงแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสีของ 2 ระบบนี้
  • - สีทางเคมี หรือสีของวัตถุธาตุ ถ้าเป็นการออกแบบจัดวางเราก็สามารถใช้หลักการของสีมาจัดวางให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ
  • - สีทางฟิสิกส์ หรือสีทางแสงนั้น อยู่ที่การออกแบบระบบกล้องโดยผู้ใช้กล้องก็ยังสามารถปรับแต่ระบบสีให้เหมาะสม เพื่อให้ได้ภาพออกมาเป็นจริงตามที่ตาเห็น ตัวอย่างเช่นการตั้งค่า White balance (ง่ายๆ คือ ถ้าตั้งได้ถูกต้องถ่ายภาพวัตถุสีขาว ก็จะได้ภาพออกมาขาว ไม่ใช่ขาวอมเหลือง หรือขามอมฟ้า อย่างนี้เป็นต้น
     ระบบสีทางแสงหรือระบบ RGB ได้กล่าวไว้แล้วเบื้องต้นในบทความเรื่อง การใช้งาน White Balance ขั้นพิ้นฐาน ... บทความนี้จะขอกล่าวถึงสีในทางเคมีหรือวัตถุธาตุ ที่จะมีผลในการถ่ายภาพ ว่าเมื่อเราพบสถานที่หรือวัตถุที่มีสีเหล่านี้ เราจะถ่ายภาพเหล่านั้นออกมาให้มีความน่าสนใจได้อย่างไร (ไม่นับถึงการออกแบบทางด้านกราฟฟิกนะครับ อันนั้นยิ่งยากขึ้นไปอีก) เอาแค่ว่าเราถือกล้องถ่ายรูปไปเที่ยวแล้วพบเจอ เราจะถ่ายนั้นๆ มา


***
- สีกลมกลืน ... สีสันเดียวกัน, สีใกล้เคียงกัน, สีในวรรณเดียวกัน
- สีแตกต่าง ... สีตรงข้าม
- สีสมดุล ... ใช้หลีกสี 3 เส้า, พื้นที่สี สมดุล กับความสว่างสี
***
บทสรุป (คัดย่อเขามา)

- สี มีความสำคัญต่องานออกแบบในระบบกราฟิก ทั้งการถ่ายภาพและสิ่งพิมพ์ เพราะจะทำให้ได้ภาพที่มีความสดใสสวยงาม น่าสนใจ และสื่อความหมายได้ถูกต้อง

- สี กับการนำไปใช้ในงานออกแบบ หลักๆ เขาใช้กัน 3 กรณีคือ สีกลมกลืน, สีแตกต่าง และ สีสมดุล 

- สี บ่งบอกถึงความรูสึก, บอกขนาด, บอกระยะ และบอกถึงการเคลื่อนไหว 

อ้างอิง
... http://www.math.cmru.ac.th/web56/option/doc_document/1378538114.pdf

ไม่มีความคิดเห็น :

ลั่นกล้อง : การ Fine Tune White Balance (Shift)

ไม่มีความคิดเห็น
     จากบทความก่อนนี้เรื่อง การใช้งาน White Balance ขั้นพื้นฐาน ได้มีการพูดเลยไปถึงการ Fine Tune white Balance (Shift สี) ที่จริงเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกัน แต่กลัวว่าบทความจะยาวเกินนิยามว่า"ขั้นพื้นฐาน" เลยขอยกมาขึ้นบทความใหม่

     ขอเอ่ยถึง"ทฤษฏีสี" สักเล็กน้อย ในส่วนของรายละเอียดระบบสี RGB  แดง(255-0-0) - เขียว(0-255-0) - น้ำเงิน(0-0-255) และชุดสี ฟ้าคราม(0-255-255) - ม่วง(255-0-255) - เหลือง(255-255-0) ...
ภาพที่ 1 ขอบคุณภาพจาก

http://ktrcom.blogspot.com/2015/12/photoshop.html

     ก่อนจะเลยคำว่าพื้นฐานไปถึง"ทฤษฏีสี" ขอเบรคๆ ไว้ก่อน ... เอาแค่ว่าระบบสี RGB ที่เราใช้ในการถ่ายภาพ(จอภาพก็ด้วย) มีสี แดง(R) - เขียว(G) - น้ำเงิน(B) เป็นแม่สี เมื่อผสมกันเป็นคู่ๆ ก็จะเกิดชุดสี ฟ้าคราม(C) - ม่วง(M) - เหลือง(Y) ... ชักเริ่มงง เอาสั้นๆ
  1. - แดง + เขียว = เหลือง
  2. - เขียว + น้ำเงิน = ฟ้าคราม
  3. - น้ำเงิน + แดง = ม่วง
ตอนนี้เรามีสีหลักๆ 6 สี ลองมองคู่สีทั้ง 6 ที่อยู่ตรงข้าม ... จะได้ว่า R#C, G#M, B#Y นั่นคือ
  1. = สีแดง (R) จะตรงข้าม สีฟ้าคราม (C)
  2. = สีเขียว (G) จะตรงข้าม สีม่วง (M)
  3. = สีน้ำเงิน (B) จะตรงข้าม สีเหลือง (Y)
      เพื่อให้เข้าใจเรื่องง่ายขึ้น ขออ้างอิงวงล้อสี R-G-B / C-M-Y ในระบบสี RGB ... ให้สังเกตสีตรงข้าม ที่ระดับมือโปรเขาใช้ในการแก้ค่าสีเพื่อให้ภาพที่มีสีถูกต้อง ... หมายถึงถ้ามีวัตถุสีขาว ก็จะถ่ายภาพออกมาได้สีขาวที่ถูกต้อง หรือใกล้เคียงสีขาวมากที่สุด จึงเป็นที่มาที่เราเรียกว่า white balance นั่นเองครับ

     เวลาเราถ่ายรูป กล้องจะมี White Balance  มาให้เลือกใช้หลายค่า เพื่อจะทำให้ภาพที่ได้มีสีที่ถูกต้อง ตามสภาพแสงที่แปรเปลี่ยนไป ... เคยใช้ Auto White Balance ถ่ายภาพกลางคืนแล้วหน้าออกมาเขียวๆ หรือแดงส้มๆ ไหมครับ

- กรณีที่ (1) อยู่ในห้องที่มีหลอดไส้แบบเก่า เราเรียกว่าหลอดทังสเตน ... แสงของหลอดไฟทังสเตน เกิดจากความร้อนที่ไส้หลอด แสงที่ออกมาจะเป็นพลังงานที่เกิดจากการกระโดดของอิเล็กตรอนของไส้หลอดมันให้แสงที่สีที่เราเห็นจะออกแนวส้มๆ ใช่มั้ยครับ ... ภาพที่ได้หรือหน้าคนจะออกส้มๆ ไปด้วย White Balance ในกล้องก็จะทำการแก้สี เหมือนใช้ filter ที่จะให้ค่าแสงถูกต้อง หน้าไม่ส้มจนเกินไป โดยเลือกใช้สีออกไปทาง ฟ้าๆ  ซึ่งเป็นคู่สีตรงข้าม

- กรณีที่ (2) อยู่ในห้องที่มีหลอดฟลูออเรสเซนท์ หรือเราเรียกว่าหลอดนีออน ... แสงของหลอดชนิดนี้เกิดจากหลักการที่ทำให้ก๊าซคลอรีนเรืองแสง (สีของคลอรีน โดยทางเคมีแล้วคือสีเขียว) ... ภาพที่ได้หรือหน้าคนจะออก เขียวๆ ไปด้วยแต่บางทีดูด้วยตาเปล่าเห็นว่าขาว White Balance ในกล้องก็จะทำการแก้สี เหมือนใช้ filter ที่จะให้ค่าแสงถูกต้อง โดยเลือกใช้สีออกม่วงๆ หรือสีบานเย็น ซึ่งเป็นคู่สีตรงข้ามเช่นกัน

- กรณีที่ (3) ในวันที่มีแดดใสๆ แสงจะมีโทนอยู่ระหว่าง Cyan กับ Blue (ดูวงเวียนสีประกอบ) จะได้ภาพโทนสีฟ้าอมน้ำเงิน ... (แดดดีๆ ใสๆ รังสี UV ก็ตามมามากด้วย) เพราะฉะนั้นแสงที่ถูกต้องที่กล้องควรจะบันทึกคือ ต้องใส่ filter ที่มีสีตรงข้ามกัน คือสี ส้มๆ อม ชมพู ก็เหมือนแก้ทางกันนะเอง
ทีนี้หากมองกลับกันที่ "สภาพแสงปกติ" แต่เรายังคงใส่ Filter สี หรือ ตั้งค่า White Balance ไว้อย่างเดิม โทนสีของภาพก็จะได้สีออกไปทาง ฟ้าๆ - ม่วงๆ - ชมพูๆ ตามลำดับ
     จึงเป็นที่มาของคำว่า "ย้อมสีภาพ" หมายถึงในสภาพแสงปกติ แต่เราต้องการโทนสีของภาพให้แตกต่างออกไป เช่น อยากได้โทนภาพออกทางสีฟ้าๆ ที่ให้ความรู้สึกเย็นๆ สงบๆ เราก็ตั้งค่า White Balance ไปที่ Incandescent เพื่อหลอกกล้องว่าตอนนี้กำลังจะถ่ายภายใต้สภาวะแสงสีส้ม CPU ของกล้องเลยสั่งให้หา Filter สีฟ้ามาใส่รอไว้เลย ... ประมาณนั้น


ถึงจุดนี้อาจยากไปอีกระดับ บางท่านอ่านแล้ว มึน-งง ก็แนะนำว่าพักไว้ก่อน ... สำหรับท่านที่คิดว่ายังรับได้อยู่ก็ขอต่ออีกนิด จะได้ครบถ้วนกระบวนความถ้วนกนะบวนความเรื่อง White Balance

  • Q: ถามว่าทำไมต้อง Shift สีใน white Balance?
  • A: เพราะสภาพแสงจริง ณ ขณะนั้น ไม่มีค่า white Balance ใดให้โทนภาพที่ถูกต้อง
     การทำ Shift white Balance หรือ White Balance Shift เหมือนกับการปรับละเอียด (Fine Tuning) ดังนั้นมันมีขอบเขตจำกัดของมัน ใช่ว่าจะสามารถปรับข้ามไปข้ามมาของ White Balance ที่กล้องกำหนดไว้ให้ เพื่อไม่เสียเวลาเรามาทำความเข้าใจตามภาพนี้กัน (เป็นการอ้างอิงจากกล้องนิคอน - Auto White Balance Shift)


ภาพที่ 2 ขอบคุณภาพจาก ... http://www.chalaom.com/forums/?action=dlattach;topic=304.0
จากตาราง shift สี อธิบายได้ดังนี้
- A = Amber --> สีอำพัน
- M = Magenta --> สีม่วงอมชมพู
- B = Blue --> สีน้ำเงิน
- G = Green --> สีเขียว
... โดยที่ Amber กับ Blue จะอยู่ในแกน x ส่วน Green กับ Magenta จะอยู่ในแกน y
  • - ภาพ (1) คือ 0,0 แสดงว่าไม่มีการ shift ค่าสี 
  • - ภาพ (2) คือ B0,0 แสดงว่ามีการ shift ค่าสี น้ำเงิน (B) ไป 3 หน่วย
  • - ภาพ (3) และ (4) ทางเจ้าของบทความเดิมเขาต้องการแก้ภาพที่ติดสีฟ้าอมเขียว โดยการใช้สีส้มอมแดง (A3,M3) ซึ่งเป็นคู่สีตรงข้ามเข้าไปแก้ ... 
     ต้องลองทำดูนะครับ แต่ให้จำไว้ว่า"ถ้าสภาพแสงปกติ แล้วเราทำ White Balance Shift ก็จะเป็นการย้อมสีภาพ ซึ่งจะทำให้สับสนในกาารทำความเข้าใจ
     ขอออกตัวก่อนนะครับว่า ผู้เขียนเองก็ไม่ชำนาญเรื่องนี้ ขณะที่เขียนบทความนี้เป็นช่วงที่กำลังทำความเข้าใจ... ที่ใช้อยู่คือ b2m2 เพื่อชดเชยกล้อง D7000 ของผมที่รู้สึกว่าภาพออกมาทองเหลืองๆ ส้มๆ
     ขอยกตัวอย่างโจทย์จากผู้มีประสบการณ์ เขียนไว้ตามเว็บบอร์ดต่างๆ เผื่อมีโอกาสได้ไปฝึกถ่ายหาคำตอบ
     1. ถ่ายพระเดินอยู่กลางทุ่งนายามเช้า จีวรก็ส้ม แดดก็ส้ม แต่ทุ่งนาต้นขาวสีเขียว หากต้องการให้มันดูสีถูกต้องเราอาจจะ Shift ฟ้าเข้าไปสักหน่อยก็ได้ เพราะ...แดดกับจีวรสีส้มแล้ว โดนสีฟ้าเข้าไปสียังไม่เปลี่ยนหรอก แต่ต้นข้าวจากที่โดนแสงแดดตอนเช้าเมื่อโดน Shift สีเข้าไปแล้ว สีเขียวจากต้นหญ้าจะดีสดขึ้น เหลืองจากแดดที่ลงมาที่ต้นข้าวเบาลง (จาก ... http://www.taklong.com/canon/show-canon.php?No=478447)

      2. หากเป็นงานพิธีการ เราจะมามัวตั้งค่าไวท์บาลานซ์แบบกำหนดเอง ก็ไม่ทันกิน งานพิธีการมันจะผ่านเลยเราไปแล้วอาจจะผลาดนาทีทองไปได้ ดังนั้นจำเป็นต้อง ชิบ Shift ไวท์บาลานซ์เอง ผู้เขียนจะชิบไวบาล้าน ออโต มาทางสีฟ้า-น้ำเงินสัก 4 ช่อง เป็นการปรับขั้นต้นเท่านั้น ในการงานพิธีการโรงแรม โรงเรียน อาคาร ที่สีอุณหภูมิสีร้อน เป็นการปรับเบื้องต้น (http://www.chanwity.com/page/view/105)

ไม่มีความคิดเห็น :

ลั่นกล้อง : การใช้งาน White Balance ขั้นพื้นฐาน

ไม่มีความคิดเห็น

     เห็นหัวข้อ White Balance ทีไรก็งงกะตัวเองทุกที ได้อ่านบทความหลายๆ บทความตามอินเตอร์เน็ท ก็เข้าใจตามที่เขาบรรยายไว้ ... พอนานไปก็เริ่มงง สับสน และ "ลืม" ไปในที่สุด

     วันนี้ได้อ่านบทความเก่าๆ เรื่อง White Balance จาก www.chalaom.com... กลัวจะลืมอีกจึงมาเขียนบันทึกไว้"กันลืม" จริงๆ แล้วมันก็ทำงานของมันเองอัตโนมัติเมื่อเราถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอล เพราะค่าเดิมๆ จากโรงงานกำหนดไว้เป็น Auto White Balance อยู่แล้ว เราเพียงเล็งไปที่วัตถุที่ต้องการแล้วกด shutter ก็จะได้ภาพมาตามที่ต้องการ

     กระบวนการถ่ายภาพจริงๆ มีหลายเรื่องที่เกี่ยวข้อง จึงไม่รู้จะเริ่มต้นทบทวนจากตรงจุดไหนดี หรือจะจัดลำดับก่อนหลังยังไง เช่น เรื่องตัวกล้อง, เรื่องเลนส์, เรื่องโหมดการถ่าย, เรื่องการวัดแสงรวมถึงการชดเชยแสง และอีกหลายต่อหลายเรื่อง และเรื่องที่จะพูดถึงตอนนี้คือเรื่อง White Balance

     White Balance เป็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง"สี" ในการถ่ายภาพ เป็นแนวสีรวมๆ ที่เรามักได้ยินเขาเรียก"โทนสีของภาพ" ... การที่เราถ่ายภาพมา 1 ใบ โทนสีของภาพที่ได้จะอยู่ใน 3 ความรู้สึกนี้ (จริงๆ มีแค่ 2 ตัวเลือก คือถูกต้อง กับ ถูกใจ)

  • 1. โทนสีถูกต้อง ตามที่ตาเห็น
  • 2. โทนสีถูกต้อง ตามความจริง
  • 3. โทนสีถูกใจ ตามที่ต้องการ
     ลองนึกๆ ดูว่าเราถ่ายภาพมา 1 ภาพ เราได้ตามข้อไหน สำหรับผู้เขียนเองถ้าถ่ายได้ 1 ใน 3 ก็จะพอใจมากๆ แล้ว (รู้สึกเทพ) ... แต่ตอนนี้ถ่ายมาเป็นภาพที่ไม่อยากได้ ดันไปเข้าหัวข้อที่ 4 "ได้โทนสีตามที่กล้องจะประทานมา" เลยไม่ได้พัฒนาไปถึงไหนสักที

มาดูตัวอย่างภาพที่ผู้เขียนพยายามถ่ายมา (คหสต.นะครับ)

ภาพที่ 1 ถูกตามที่ตาเห็น (1)

ภาพที่ 2 ถูกต้องตามความจริง (2) โปรเซสแก้ฯ ด้วยโปรแกรม

ภาพที่ 3 ถูกต้องตามสภาพแสงจริง (2) จบหลังกล้อง
ภาพที่ 4 "ถูกใจ" สะใจ (3)
    ในความเห็นส่วนตัว ถ้าให้จัดลำดับความยากสุด ไปง่ายสุด (จริงๆ ไม่มีอะไรง่ายเลย) คือ ถ่ายให้ได้ภาพถูกต้องตามสภาพแสงขณะนั้น รองลงมาคือ ถูกต้องตามที่ตาเห็น และสุดท้าย "ถูกใจ" (ตรู คนเดว) ... ที่จัดอันดับ"ถูกใจ" ไว้หลังสุด เพราะถ่ายออกมาบางครั้งได้ผลแบบฟลุ๊คๆ เราก็พอใจ

     การถ่ายภาพให้ได้โทนสีของภาพถูกต้องตามสภาพแสงขณะนั้น เช่น ถ่ายกระดาษ A4 สีขาว แต่ย้ายสถานที่เช่น ในห้องที่เปิดไฟ, ในห้องที่มีแสงธรรมชาติ, ใต้ต้นไม้ และ กลางแจ้ง ... ทุกสถานที่สภาพแสงเปลี่ยนไป แต่กระดาษ A4 สีขาว ไม่เปลี่ยน ดังนั้นคำว่า"ถูกต้อง" คือต้องถ่ายให้ทุกภาพกระดาษออกมา "ขาว" เหมือนกันทุกภาพ และถ้าใครทำได้อยู่แล้ว ปิดหน้านี้ไปเลยครับ เพราะจะไม่ประโยชน์ที่จะอ่านต่อไ

+++
Q: ถามว่า Auto White Balance ดีไหม?
A: จริงๆ ต้องตอบว่าดี ถึงดีมากๆ

Q: แล้วเราต้องไปรู้เรื่องมันมาก ไปให้รกสมองทำไม
A: อันนี้ตอบยากครับ ... เพราะถ้าในความเป็นจริง กล้องถ่ายรูปแบบดิจิตอล ทำงานได้อัตโนมัติตามชื่อ "Auto" แล้วก็จริง แต่มันถูกโปรแกรมมา พอเจอสภาพแสงบางสถานการณ์ Auto White Balance หรือเรียกสั้นๆ AWB ก็เอาไม่อยู่

เพื่อให้เห็นภาพว่า Auto White Balance มีความสำคัญอย่างไร จึงขอยกตัวอย่างภาพประกอบอีกดังนี้ครับ

ภาพที่ 5
ภาพที่ 6
     ทั้ง 2 ภาพถ่ายต่อเนื่องกันในเหตุการณ์จริง ... ภาพที่ 6 สังเกตว่าสีจะผิดเพี้ยนไปมากกว่าภาพที่ 5 เพราะขณะกด Shutter ถ่ายภาพที่ 6 ทางเวทีเปิดไฟเพิ่มขึ้นมาอีกสี หาก Auto White Balance ทำงานได้อัตโนมัติถูกต้องจริงตามชื่อเราคงได้ภาพที่โทนสีใกล้เคียงกัน (ตัวอย่างกรณีนี้อาจไม่ตรงหลักการนัก โดยที่ค่าสภาพแสงในห้องจัดเลี้ยงมักเป็นแบบนี้อยู่แล้ว)
ภาพที่ 7
      ถึงตอนนี้พอจะมองออกแล้วยังว่า White Balance มีผลยังไง ... เมื่อเอาภาพมาปรับแต่งในโปรแกรมแต่งภาพ ก็จะได้ภาพออกมาดัง ภาพที่ 7 ที่ใกล้เคียงความจริง

+++
     ขอย้อนกลับไปที่พื้นฐานการถ่ายภาพในเรื่องของแสง ยกตัวอย่างเราเห็นธงไตรรงค์ สีแดง-ขาว-น้ำเงิน นั้นเพราะแสงสะท้อนจากธงฯ วิ่งเข้าสู่ตาเราครับ ... วัตถุที่เราเห็นมีสีอะไร? คือ วัตถุนั้นสะท้อนแสงนั้นเข้าตาเราครับ .. และในความหมายตรงข้ามกันวัตถุนั้นก็ดูดกลืนแสง(สี)ที่เรามองไม่เห็นจากวัตถุนั้นเช่นกันครับ
ภาพที่ 8 Credit : http://snapsnapsnap.photos/a-beginners-guide-for-manual-controls-in-iphone-photography-white-balance/
     วัตถุแต่ละชนิดสะท้อน/ดูดกลืนแสง(สี) ไว้ไม่เท่ากัน วัตถุสีดำจะไม่สะท้อนสีใดๆเลย แต่จะดูดกลืนทุกช่วงสี ผมขอเรียกสั้นๆ ว่าเป็นสี ยังไม่ขอขยายความไปถึงเรืองความยาวคลื่นของแสง (สีที่ต่างกัน คือ ช่วงความยาวคลื่นแสงที่ต่างกัน ) โดยปกติแล้ว แสงอาทิตย์ที่เราเห็นเหมือนว่าไม่มีสีใดๆ เลยดูใสๆ พอผ่านปริซึมหรือเมื่อมีการหักเห ก็ออกมาเป็นเจ็ดสี หรือ สีรุ้งนั่นเอง (แสงตามองไม่เห็น ส่วนที่ต่ำกว่าทางซ้ายของสีแดง เราจะเรียกว่า อินฟราเรด และส่วนที่สูงกว่าทางขวาของสีม่วง เราจะเรียกว่า อุลตร้าไวโอเลท)
ภาพที่ 9 ได้แก่ แดง - ส้ม - เหลือง - เขียว - ฟ้าคราม - น้ำเงิน และ ม่วง
     เราจะได้สีของแสงจากดวงอาทิตย์แตกต่างกันออกไป ในเวลาที่แตกต่างกัน หรือแม้ว่าเวลาเดียวกัน แต่เปลี่ยนสถานที่ก็จะยิ่งแตกต่างกันอีก แสงของแดดในแต่ละวันแต่ละสถานที่จะไม่เหมือนกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมประกอบ เช่น เมฆฝน, หมอก, ควัน ... เป็นต้น

     ถ้าเราเอาแถบสีทั้ง 7 มาม้วนเป็นวง (สีม่วง ติดกับ สีแดง) เราก็จะได้วงล้อสี หรือภาษาปะกิดว่า Color Wheel ดังรูปถัดไป
ภาพที่ 10 คุณภาพจาก http://teerawat-mmd.blogspot.com/2010/09/blog-post_18.html

     เอาละกลับมาที่เดิมซะที การตั้งค่า White Balance หรือการเอา Filter สีมาใส่หน้าเลนส์ (สมัยกล้องฟีล์ม) แต่กรณีปัจจุบันนี้เขาใส่ในกล้องไว้แล้ว ให้เราเลือกใช้เอา ... หากย้อนกลับขึ้นไปดูภาพที่ 6 จะเห็นว่าติดไปทางสีเหลืองๆ ส้มๆ แดงๆ หากจะแก้โดยใช้หลักการสีตรงข้าม ก็เลือกใช้ White Balance ที่มีสีฟ้าๆ น้ำเงินๆ เข้าไปแก้

Q: ก็จะมีคำถามต่อมาว่า White Balance ที่มีสีฟ้าๆ น้ำเงินๆ ไปเลือกใช้จากไหน?
A: คำตอบก็คือ ก้มดูที่กล้อง เปิดเมนูมาดูว่าปัจจุบัน White Balance ถูกตั้งไว้ที่ค่าไหน? ... เอาละซิ งงเข้าไปใหญ่

     งั้นมาดูกันว่ากล้องทั่วๆ ไปกำหนดค่า White Balance ไว้อย่างไร ลองมาดู White Balance แบบต่างๆ กันบ้าง (อ้างอิงจากกล้องนิคอน D7000)
ภาพที่ 11 ขอบคุณภาพจาก ... http://www.chalaom.com/forums/?topic=304.0
  1. 1. Auto => ระบบนี้กล้องจะเลือกให้เองว่าจะตั้ง White Balance แบบไหน
  2. 2. Incandescent => หลอดหัวกลมที่มีไฟสีส้มๆ หรือที่เราเรียกันว่าหลอดใส้
  3. 3. Fluorescent => หลอดผอม หรือที่เราเรียกติดปากว่า"หลอดนีออน"
  4. 4. Direct sunlight => แสงจากดวงอาทิตย์
  5. 5. Flash => แสงจาก Flash
  6. 6. Cloudy => เมฆมาก หรือแสงแดดน้อย
  7. 7. Shade => บริเวณที่อยู่ในเงา
  8. 8. Color temp(K) => เลือกอุณหภูมิสีเอง(รุ่นเล็กบางรุ่นไม่มี)
*** ก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่า White Balance ทั้ง 8 ข้อที่ยกมา มีการใส่ Filter สีอะไร *** 

     งั้นต้องเพิ่มความยากขึ้นมาอีกนิดเรื่อง"อุณหภูมิสี" (คนละเรื่องกับอุณหภูมิของอากาศร้อนๆ เย็นๆ นะ) ... ถ้าไล่ลำดับจากภาพแถบสีรู้งด้านบนจาก แดง - ส้ม - เหลือง - เขียว - ฟ้าคราม - น้ำเงิน - ม่วง อุณหภูมิสีก็จะเรียงจากน้อย (2000k) ไปหามาก (10000k) โดยมีหน่วยเป็นองศาเคลวิน (K) ... โดยแสงที่มีอุณหภูมิต่ำจะให้สีอุ่น(ปรากฏสีแดงเหลืองมากกว่า) ขณะที่แสงมีอุณหภูมิสูงกลับให้สีเย็น(ปรากฏสีฟ้ามากกว่า อุณหภูมิสีที่ว่านี้มีค่าต่างๆ ตามภาพที่ 11

ภาพที่ 12 ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ท

       ตัวอย่างอุณหภูมิสีที่ยกมา เป็นอุณหภูมสีที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่า 1,000k - 10,000k ... ทางผู้ผลิตกล้องได้ทำการจับช่วงแสงที่ใช้บ่อยๆ มาเป็นกลุ่มๆ ได้ 7 กลุ่มข้างบน หรือจะเรียกว่าเมนู หรือ ฟังชั่น ก็ไม่ผิด (Incandescent, Fluorescent, Direct sunlight, Flash, Cloudy, Shade) และกำหนดกลุ่มกว้างๆ ที่ครอบคลุมฯ และใช้ชื่อ "Auto White Balance" ... ส่วนกลุ่มหรือเมนูสุดท้ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ตั้งค่าเอาเองตามใจชอบ "Custom Color temp" และเมื่อเอาชื่อกลุ่มฟังชั่น White Balance  มาเทียบกับค่ากับช่วงอุณหภูมิสี จะได้ดังภาพที่ 12

ภาพที่ 12 ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ท (D7000)
    1. - Auto      --> 3500k - 8000k
    2. - Shade    --> 8000k
    3. - Cloudy  --> 6000k
    4. - Flash     --> 5400k
    5. - Direct sunlight --> 5200k
    6. - Incandescent   --> 3000k
    7. - Fluorescent    --> 2700k 
    8. - Color temp(K) --> เลือกอุณหภูมิสีเองช่วง 2000k-10000k
     คงจะได้คำตอบ... ถ้าสมมุติว่าขณะที่เราถ่าย เราตั้งค่าไว้ที่ Auto White Balance แต่ภาพยังออกมาผิดเพี้ยน เราต้องทดลองเปลี่ยน White Balance ค่าอื่นเช่น Incandescent, Fluorescent ... หรือค่าอื่นๆ ที่พิจารณาแล้วอุณหภูมิสีไม่อยู่ในช่วง 3,500k - 8,000k

     ... แต่ถ้าหากลองเปลี่ยนแล้วไม่ดีขึ้นหรือไม่ได้ดั่งใจ ก็ถึงคราวที่ต้องแก้สีกันจริงๆ โดยใช้การ shift สี หรือ Fine Tune White Balance (ติดตามได้จากบทความ White Balance - Shift ) ...

     จากที่เคยพูดถึงการ"ย้อมสีภาพ"ว่าถ้าเราถ่ายภาพในสภาวะแสงปกติช่วงกลางวัน ที่มีอุณหภูมิสีประมาณ 5200k แล้วเราเลือกใช้ White Balance แบบ Direct sunlight เราจะได้โทนสีของภาพที่ถูกต้อง ทีนี้ถ้าเราถ่ายภาพตอนเช้าหรือเย็นที่มีฟ้าสีออกส้มๆ เรามักใช้ Cloudy หรือ Shade จะได้ท้องฟ้าสีทองจับใจ ... แต่ถ้าเราไปเลือกใช้ Fluorescent ท้องฟ้าจะกลายเป็นสีน้ำเงินเข้มดังรูปที่ 4 ก็จะเป็นการ"ย้อมสีภาพ เพื่อให้ได้ภาพที่ถูกใจ"

     สำหรับการตั้งค่า White Balance แบบกำหนดค่า Color Temperature (K) เองนั้นผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจขั้นสูงในการวิเคราะห์ค่าสภาวะแสงในขณะนั้นๆ ณ ที่นี้ขอเอาคลิปวีดีโอมาฝากให้ทำความเข้าใจไปพลางก่อน ...


    • หากเราเลือกใช้ White Balance แบบ Shade โทนสีภาพจะออกไปทาง เหลืองอมส้ม
    • หากเราเลือกใช้ White Balance แบบ Flouorescent โทนสีภาพจะออกไปทาง ฟ้าอมน้ำเงิน

     สรุปใจความหลักๆ อีกที...    

  • 1. เลือกเอาว่าจะถ่ายภาพให้ได้โทนสีที่ถูกต้อง หรือ ถูกใจ
  • 2. แบบ"ถูกต้อง" ... ถ่ายภายใต้สภาพแสงแบบไหน... ก็ให้ตั้ง White Balance แบบนั้น  แม้ว่าในบางครั้งเราตั้ง White Balance แล้วแต่สีเพี้ยนหรือยังไม่ตรง... ก็สามารถปรับละเอียด ด้วยการ Shift หรือ Fine Tune White Balance
  • 3. แบบ"ถูกใจ" ... สามารถใช้ White Balance ย้อมสีรูปให้เป็นอย่างที่ต้องการได้
  • 4. ด้วยหลักการเรียนรู้ เราต้องถ่ายภาพให้ได้โทนสีที่ถูกต้อง สีแบบหรือวัตถุถูกต้อง (ตามตัวอย่างกระดาษขาว A4 )

     ... ท้ายนี้ก็ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก ... http://www.chalaom.com/forums/?topic=304.0 ไว้อีกครั้ง หรือหากใครสนใจจะซื้อเป็นหนังสือกระดาษอย่างดีมาไว้อ่านก็แนะนำเล่มนี้เลยครับ ... สวัสดี



ไม่มีความคิดเห็น :